ในจำนวนนั้นมี ส.ส.จากฝ่ายค้านลงมติสนับสนุนด้วย ได้แก่ จำนวน 6 เสียง ได้แก่ จากพรรคก้าวไกล 5 เสียง คือ นายเกษมสันต์ มีทิพย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี, นายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายพีรเดช คำสมุทร ส.ส.เชียงราย, นายเอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย และจากพรรคประชาชาติ 1 เสียง คือ นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี
นอกจากนี้ ในส่วนของพรรคเพื่อไทย แม้ไม่ลงมติสนับสนุน แต่ก็ช่วยในการงดออกเสียง อาทิ นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ และหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ ที่เคยสังกัดพรรคเพื่อไทย ลงมติงดออกเสียง
พบว่ามี ส.ส.จำนวน 5 คน ไม่ปรากฏการลงมติ และในอดีตมีความผูกพันกับคนภูมิใจไทยอย่างยิ่ง คือ นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ, นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ์ ส.ส.ปทุมธานี, นายธีระ ไตรสรณกุล ส.ส.ศรีสะเกษ, น.ส.พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี ปัจจุบันย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย, นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก และยังมีพรรคเพื่อชาติ งดออกเสียง 4 เสียง จาก ส.ส.ทั้งหมด 5 คน คือ น.ส.ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช, นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล, นางลินดา เชิดชัย และนายอารี ไกรนรา ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นต้น
เมื่อดูเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 จึงไม่มีทางที่ฝ่ายตรงข้ามจะทำให้ “บิ๊กตู่” ตกเก้าอี้ด้วยมติไม่ไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภาได้.
ช่างสงสัย