วันที่ 22 มี.ค.64 ที่ป่าส้มแสง พื้นที่ชุ่มน้ำ บ้านป่าข่า ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย นายญาณวุฒิ สุดพิมศรี นายอำเภอขุนตาล ได้เป็นประธานในพิธีบวชป่าส้มแสง ป่าต้นน้ำแม่น้ำอิง โดยมีนายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตและผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์แม่น้ำโขงภาค เหนือ ร่วมกับตัวแทนเครื่อข่ายองค์กรไม่แสวงผลกำไร กลุ่มรักษ์เชียงของ เครื่อข่ายนักอนุรักษ์ นายสุทธิ มะลิทอง รองผู้อำนวยการสถาบันความหลากหลาย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย รวมไปเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านบ้านป่าข่า เข้าร่วมพิธีบวชป่าในครั้งนี้
สำหรับป่าชุ่มน้ำป่าข่า เป็นป่าที่มีความพิเศษที่มีต้นชุมแสงหรือ ส้มแสง ขนาดใหญ่ ที่เป็นต้นไม้โตช้า โดยอายุกว่า 300 ปี ถือว่าเป็นวิสัยทัศน์กว้างไกล ที่ไม่เคยที่อื่นถือว่าที่นี่เป็นที่เดียวของประเทศไทยและโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วม 1-3 เดือน มีต้นไม้อยู่ไม่กี่ประเภทที่อยู่ได้ โดย 1 ในนั้นคือต้นชุมแสง ปกติมักเจอในป่ากแม่น้ำขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้แม่น้ำโขง เมื่อน้ำเอ่อขึ้นมา ซึ่งป่าชุมน้ำอิงมีพันธุ์พืช 60-70 ชนิด ส่วนสัตว์มีมากกว่า 200 ชนิด ช่วงนี้ชุมแสงกำลังออกออก เดือนเมษายนจะมีผล เมื่อตกลงมาจะกลายเป็นอาหารปลาและสัตว์ป่ารวมถึงนก กลายเป็นระบบนิเวศซับซ้อนและเป็นอัตลักษณ์
นายสุทธิ มะลิทอง รองผู้อำนวยการสถาบันความหลากหลาย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย กล่าวว่า ป่าบ้านป่าข่าเป็นป่าน้ำท่วมตามฤดูกาล มีน้ำเข้ามาท่วม 1-3 เดือนฤดูฝน มีต้นไม่ไม่กี่ชนิดอยู่ได้ มีต้นชุมแสง ต้นข่อย ที่ทนทานสภาวะการถูกน้ำท่วม ป่าพวกนี้เป็นป่าริมน้ำคอยดักจับตะกอน และเวลาใกล้ปากแม่น้ำเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ แม่น้ำอิงติดต่อแม่น้ำโขง ทำให้ปลาน้ำโขงเข้าแม่น้ำอิงและป่าเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัย แพร่พันธุ์ของปลา
“ป่าชุมแสงหรือส้มแสง เป็นป่าที่ทนทานและโตช้า ในป่าแห่งนี้มีอายุมายาวนาน กว่า 300 ปีถือว่าสุดยอดที่เป็นวิสัยทัศนของคนในชุมชน จริงๆต้นชุมแสงมีการกระจายตัวอยู่ทุกภาค แต่การเป็นป่าผืนใหญ่มีไม่เยอะ ที่นี่เป็นจุดใหญ่ ต้นชุมแสงขนาดใหญ่ เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ เราหาป่าชุมแสงแบบนี้จากที่อื่นไม่มีแล้ว” รองผู้อำนวยการสถาบันความหลากหลาย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย กล่าว
ในส่วนของภาครัฐนั้นหากยกระดับเป็นพื้นที่ชุมน้ำนานาชาติได้ ก็ได้รับการสนับสนุนจากแรมซ่าไซ ชุมชนอนุรักษ์ป่าอยู่แล้ว รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรมาก แค่เป็นกลาง รับฟังความต้องการของชุมชน ยึดในเรื่องความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ และกฎหมายรองรับควรมีความชัดเจนมากขึ้นไม่ใข่แค่มติครม.