เวลา 10.00 น. วันที่ 29 มีนาคม 2564 ที่ ศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน (ว.วชิรเมธี) ต.บลห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย นายวุฒิชัย เสาวโกมุท รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาทักษะอาชีพผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร หลักสูตรอาชีพเสริม สาขา “ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบิน (Drone) เพื่อการเกษตร” ให้กับเกษตรกรผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 34 คนโดนฝึกอบรมระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2564
นายวุฒิชัย เสาวโกมุท รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า การฝึกอบรมในวันนี้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกันจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเฉพาะ บริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด ที่ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ค่าวิทยากร และค่าอาหารตลอดการฝึกอบรม และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 20 เชียงราย ที่ได้มุ่งมั่นด าเนินการจัดฝึกอบรมครั้งนี้การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับวงการเกษตรของจังหวัดเชียงราย อันจะเป็นการจุดประกายทางความคิดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้นำเทคโนโลยีด้านการเกษตรมาใช้พัฒนาอาชีพเกษตรกรรมให้มีความเจริญก้าวหน้า นับเป็นการเผยแพร่ความรู้
และชี้แนวทางสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกร และประชาชน ผู้สนใจในการประกอบอาชีพ “ผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร” ได้อย่างแท้จริง โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การฝึกอบรมในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการเกษตร และสามารถสร้างอาชีพผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตรนำร่องในพื้นที่จังหวัดเชียงรายได้สำเร็จ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการเกษตรสมัยใหม่ ให้ก้าวไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ต่อไป
พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) กล่าวว่า การฝึกอบรมในครั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ให้กับเกษตรกรในเพื่อเป็นการพัฒนาฝีมือที่มีอยู่แล้วให้สามารถเพิ่มทักษะในการทำการเกษตรของตนเอง และเป็นการเพิ่มรายได้ ทำให้สามารถไปรับจ้างประกอบอาชีพเกี่ยวกับการบินโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งการที่รู้จักพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอจะทำให้มีการพัฒนาด้านความรู้ของตนเอง ได้รู้จักเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และนำมาปรับปรุงใช้กับการดำรงชีวิตประจำวันได้
ดร.กฤษดา อัครพัทธยากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด กล่าวว่า การฝึกอบรมในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2563 ที่ผ่านมา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยนายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับบริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัดได้ลงนามความร่วมมือโครงการพัฒนาทักษะอาชีพผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร โดยมีดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีบันทึกความร่วมมือดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการช่วยเหลือเกษตรกรไทยด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเกษตร ช่วยลดเวลาการทำงาน เพิ่มผลผลิต และลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีจากการฉีดพ่นโดยตรง รวมถึงเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง และผู้ว่างงานจากผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 ให้สามารถน าความรู้ไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยที่ผ่านมาดำเนินการจัดอบรมไปแล้วกว่า 9 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ระยอง พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครราชสีมา และพะเยา โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมไปแล้วทั้งสิ้น 280 คน
“การใช้อากาศยานไร้คนขับโดรนเพื่อการเกษตร ท าการพ่นสารกำจัดวัชพืช, แมลงศัตรูพืช และพ่นฮอร์โมนบำรุงพืช สามารถลดเวลาลง เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคน 3-5 เท่า และช่วยลดปริมาณน้ำที่ใช้สำหรับการผสมสารลง 10-15 เท่า เพราะฉนั้น น้ ายาที่ออกจากโดรนพ่นยาเปรียบเสมือนหัวเชื้อ เป็นการฉีดพ่นสารจากบนลงล่าง ลมจากใบพัดจะช่วยกดน้ำยาลงสู่พืช ซึ่งค่าบริการฉีดพ่นสารเคมีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ จะเท่ากับค่าจ้างแรงงานคน คือ ไร่ละประมาณ 50-70 บาท (กรณีนาข้าว) โดยโดรนขนาด 10 ลิตร 1 ลำ สามารถทำงานได้มากถึง 100 ไร่ต่อวัน คิดเป็นเงิน 5,000-7,000 บาท (กรณีที่มีแบตเตอรี่ มากพอ หรือเวียนชาร์ต) และสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากการเหยียบย่ำพืชในระหว่างฉีดพ่น และลดความเสี่ยงเรื่องปัญหาสุขภาพจากการสัมผัส หรือสูดดมสารเคมีของตัวเกษตรกรเอง ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างมาก
นางอุษา คงภักดี ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 20 เชียงราย กล่าวเพิ่มเติมว่า การฝึกอบรมในครั้งนี้ มีระยะการฝึก เป็นหลักสูตร 18 ชั่วโมง การอบรมครั้งนี้ มีระยะเวลาฝึก จ านวน 18 ชั่วโมง จัดฝึกอบรม ณ อาคารธรรมสภา ศูนย์ปฏิบัติธรรม ไร่เชิญตะวัน ระหว่างวันที่ 29 – 30 มีนาคม 2564 มีเกษตรกรและผู้ที่สนใจ สมัครเข้ารับการฝึกอบรมจำนวนทั้งสิ้น 34 คน โดยมีนายวีระชาติค้ำคูณ และทีมงานจากบริษัท แอโรกรุ๊ป (1992) จำกัด เป็นวิทยากร เนื้อหาการฝึกอบรมประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานทางด้านอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (Drone) เพื่อการเกษตร ความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การผสมสารที่ใช้ในการพ่น การบังคับหรือปล่อยอากาศยาน การขนย้ายและเก็บรักษา ตลอดจนการซ่อมแซม และบ ารุงรักษาเบื้องต้นสำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (Drone) เพื่อการเกษตร คาดว่าผู้ผ่านการฝึกอบรมจะมีความรู้และทักษะในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อการเกษตร และสามารถน าความรู้และทักษะที่ได้ไปประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวต่อไป