4 กุมภาพันธ์ 2564
| โดย สาวิตรี รินวงษ์
173
ไตรมาส 1 คือขุมทอง “อีเวนท์” เพราะธุรกิจจะมีเงินสะพัดสัดส่วนถึง 50% แต่โรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ สะเทือนผู้ประกอบการเบรกจัดงานเพียบ ฟากเจ้าพ่ออีเวนท์ “เกรียงไกร กาญจนะโภคิน” กัดฟันลงทุน Village Of Illumination แลกเนรมิตแลนด์มาร์คท่องเที่ยวใหม่
ยังเป็นอีกปีที่หืดจับสำหรับธุรกิจ “อีเวนท์” หลังต้องเจอกับการระบาดของโรคโควิดระลอกใหม่ จนกระทบการจัดกิจกรรม งานบันเทิง เทศกาล ประเพณี ตลอดจนการจัดแคมเปญการตลาดต่างๆ ซึ่งต้อง “งด” ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจอีเวนท์ต้อง “ปรับตัว” เพื่ออยู่รอดคราวก่อน ยังต้องกัดฟัน หาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพื่อประคองตัวให้อยู่รอด รอวันกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
ไตรมาส 1 ถือเป็น” นาทีทอง” ของธุรกิจอีเวนท์ เพราะกิจกรรมมากมายจะจัดรับไฮซีซั่นทั้งปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน วันแห่งความมรัก ฤดูร้อนหรือซัมเมอร์ที่เป็นหน้าขาสินค้า ทว่า ผ่านไป 1 เดือน อีเวนท์กลับหงอยเหงา เพราะแบรนด์สินค้าไม่กล้าเสี่ยงทำแคมเปญการตลาดท่ามกลางโควิดระบาด งานประจำปีทั่วไทยที่วางแผนไว้ถูกยกเลิก แต่สำหรับ “เจ้าพ่ออีเวนท์” ผู้ไม่เคยหยุดคิดสร้างสรรค์(Never Stop Creating) ยังคงฮึดสู้! จัดอีเวนท์แรกของปีอย่าง “Village Of Illumination” เทศกาลประดับไฟฤดูหนาว 2564 ณ โครงการสิงห์ปาร์ค เชียราย บนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ เนรมิตงานแสดงที่ผสมผสานศิลปะ ดนตรี ดิจิทัลและเทคโนโลยี ใหญ่สุดในภูมิภาคเอเชีย
เกรียงไกร กาญจนะโภคิน ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ให้เหตุผลถึงการทุ่มเงินหลักสิบล้านบาท เพื่อจัดอีเวนท์ “Village Of Illumination” ต่อ ส่วนหนึ่งเพราะต้องการกระตุ้นการรท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะพื้นที่่จังหวัดเชียงรายให้คึกคัก แต่ในมิติทางธุรกิจกิจงานดังกล่าวบริษัทเตรียมการตั้งแต่ปี 2562 ในการปักหมุดสร้างสรรค์แลนด์มาร์คให้เมืองท่องเที่ยว และปลุกปั้นแบรนด์ “Village Of Illumination” ให้แจ้งเกิดเพื่อเป็นหนึ่งในเฟสติวัลประจำปีที่นักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปเยือน
นอกจากนี้ ยังถือเป็นการ “ลงทุน” เพื่อแลกกับการเรียนรู้ตลาด เข้าใจผู้บริโภค และเก็บเกี่ยวข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปปรับปรุงในการจัดงานครั้งที่ 2 ซึ่งจะเกิดขึ้นปลายปี 2564
“เราไม่ยกเลิกงาน ยังไปต่อเพราาะอยากให้นักท่องเที่ยวรู้จัก Village Of Illumination เป็นแบบไหน ไหนๆจะเหนื่อยแล้ว ให้เราได้เรียนรู้ไปเลย เพราะงานนี้เราไม่เคยรู้ว่าค่าไฟเท่าไหร่และบทเรียนทำให้เรามันใจมากขึ้นว่าธุรกิจการท่องเที่ยวต้องการสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา และประเทศไทยไม่มีอีเวนท์นวัตกรรมที่สร้างใหม่”
เมื่อตัดสินใจเดินหน้าภายใต้เงื่อนไขไไวรัสมฤตยูระบาด ย่อมกระทบธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ ประกอบกับ “สิงห์ปาร์ค เชียงราย” ยกเลิกการจัดเทศกาลใหญ่ประจำปีทั้ง เคาท์ดาวน์ปีใหม่และเทศกาลบอลลูนนานาชาติ ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาร่วม “แสนคน” ภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อ ล้วนทำให้ทุกอย่างไม่เป็นไปตาม “เป้าหมาย”
ตลอดการจัดงานกว่า 1 เดือน เกรียงไกร คาดการณ์จะมีนักท่องเที่ยวมาเยือน 1 แสนคน สร้างรายได้ 100 ล้านบาท แต่สถานการณ์แพร่ระบาดโควิดทำให้ยอดคนเข้างานอยู่ที่ 20% และมีรายได้เพียง 3 ล้านบาทเท่านั้น
“เดิมจะดึงดูดนักเดินทางทั่วไทย แต่ต้องปรับเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือที่เดินทางโดยขับรถใช้เวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งเดินทางโดยรถส่วนตัวอุ่นใจกว่า ทำให้คนเข้าชมงาน 85% เป็นคนภาคเหนือ ที่เหลือเป็นภาคอื่นๆ 15% และส่วนใหญ่อายุ 20-50 ปี”
เนื่องจากไตรมาสแรกมีเทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ ทำให้อินเด็กซ์ ขยายเวลาจัดงานถึง 14 กุมภาพันธ์ จากเดิมถึง 31 มกราคม 2564 พร้อมกันนี้ได้เพิ่มโซนแห่งความรักเพื่อไว้สำหรับถ่ายรูปรับวาเลนไทน์ รวมถึงมีการเติมไฟรองรับการถ่ายรูปกลางคืนให้ออกมาสวยงามกว่าเดิม สำหรับงาน Village Of Illumination จัดขึ้้นภายใต้แนวคิด “ปรกฏการณ์จากฟากฟ้า : Falling from the sky” มี 7 โซน เช่น หมู่บ้านแห่งไฟ(PEA Village) ต้นไม้อวตารศักดิ์สิทธิ์(Maya) โลกใบใหม่จากฟากฟ้า(The New World) เป็นต้น จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ถึง 14 กุมภาพันธ์
“การจัดอีเวนท์ครั้งนี้เหนื่อยนะ แต่มีความสุข เพราะคือความฝันของเราที่ต้องการให้เกิดขึ้นในประเทศไทย”
ด้าน ชัยภัฏ จาตุรงคกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงห์ปาร์ค เชียงราย จำกัด กล่าวว่า สิงห์ปาร์ค และอินเด็กซ์ มีจิ๊กซอว์ที่ตรงกันคือต้องการจัดงานเทศกาลประดับไฟให้เป็นเทศกาลประจำปีเพื่อเป็นเดสทิเนชั่นดึงนักท่องเที่ยวเป้าหมายให้มาเยือนจังหวัดเชียงราย ซึ่งทุกครั้งที่มีเทศกาลต่างๆ ส่งผลให้ชุมชน ร้านค้ามีรายได้ เม็ดเงินสะพัดกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีท้องถิ่นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม โรคโควิดระบาดระลอกใหม่ทำให้ สิงห์ปาร์ค ยกเลิกการจัดงานต่างๆ แต่เตรียมพร้อมในการกลับมาจัดอีเวนท์ให้เร็วสุดหลังสถานการณ์คลี่คลายดีขึ้น