เครือข่ายรณรงค์ลดการดื่มภาคเหนือตอนบน รายงานว่า จากข้อมูลสถิติที่มีการเปิดเผยผลวิจัยพฤติ กรรมการดื่มของคนไทยล่าสุดว่า มีอัตราการดื่มเบียร์เฉลี่ย 142 ขวด/คน/ปี มูลค่าที่ใช้จ่ายไปกับการดื่มเฉลี่ยปีละกว่า 21,093 บาท ต่อปี และที่น่าสนใจคือ จังหวัดที่มีการดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงสุดใน 5 อันดับนั้นภาคเหนือติดอันดับ 4 จังหวัดประกอบด้วย เชียงราย (45.3 % ) ลำพูน ( 44.1 % ) พะเยา ( 44 % ) และน่าน 42.4 % โดยมี สุรินทร์ เป็นอันดับ 5 เฉลี่ย 40.6 %
โดยข้อเท็จจริงแล้วสรรพสามิต ในพื้นที่ภาคเหนือ ระบุว่า คงจะนำข้อมูลมาอ้างอิง เทียบเคียงกับสถิติ
การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตไม่ได้ เพราะ ในรายงานประจำปีของสรรพสามิต เฉพาะลำพูนนั้น รายได้จากภาษีสุราและเบียร์น้อยมาก “ถ้าพิจารณารายละเอียดผลการจัดเก็บรายได้สรรพสามิต (รายสินค้า) หมวดหลักๆ 17 รายการ ไม่
ว่าจะเป็น สุรา,เบียร์ ,ยาสูบ,รถยนต์,เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้นซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตนั้น ในเขตภาค 5 เฉลี่ยราวๆ 3 พันกว่าล้านบาทภาษีเบียร์จะน้อยกว่ากลุ่มสุราที่สูงถึง 2 พันกว่าล้านบาท หากเจาะลึกในรายจังหวัดแล้วจะพบว่า ตัวเลขปี 62 นั้น เชียงใหม่ จัดเก็บภาษีสรรพสามิตประมาณ 1,774 ล้านบาท เชียงรายราวๆ81 ล้านบาท พะเยากว่า 22 ล้านบาทและลำพูนประมาณ 39 ล้านบาทเท่านั้น ”
ในรายงานการจดทะเบียนสรรพสามิตในประเทศ และนำเข้า ทั้งสุรา ,เครื่องดื่ม ตลอดจนรายการที่ ต้องเสียภาษีสรรพสามิตแล้ว เชียงใหม่ติดอันดับต้นๆของประเทศ อย่างไรก็ตาม รายงานผลการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำนักงานคณะกรรมการควบ คุมเครื่องดื่มแอลกฮอล์ เปิดเผยนั้น ระบุว่า ประเทศไทยมีเป้าหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ อย่างเข้มข้น โดยตั้งเป้าว่า ปี 2568 ต้องลดการดื่มของคนไทยลงให้ได้ร้อยละ 10 สอดคล้องกับรายงานสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ระบุพฤติกรรมการดื่มของคนไทยช่วง ปี 2544-2560 นั้น ประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มการดื่มคงที่ และปัจจุบันการดื่มมีแนวโน้มลดลง
ทั้งจากผลการรณรงค์ของหน่วยงานรัฐ อย่างจริงจัง ที่ชี้ถึงภัยของการดื่มในด้านต่างๆ ทั้งสุขภาพ และผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจด้วย เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรระหว่างภูมิภาค พบว่า ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนนักดื่มปัจจุบันสูงสุดคือ ร้อยละ 35.4 และร้อยละ 32.8 ตามลำดับ ภาคเหนือมีนักดื่มประจำในสัดส่วนสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 16 นอกจากนี้ พบว่าภาคกลางและภาคเหนือมีสัดส่วนนักดื่มหนักประจำสูงสุด คือ ร้อยละ 3.8 และร้อยละ 3.7 ตามลำดับเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอในรอบปีที่แล้วในประชากรทั่วไป (15 ปีขึ้นไป) พบว่า จังหวัดที่มีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอมากกว่าร้อยละ 40 มีจำนวนทั้งสิ้น 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย (ร้อยละ 45.3) ลำพูน (ร้อยละ 44.1) พะเยา (ร้อยละ 44.0) น่าน (ร้อยละ 42.4) และ สุรินทร์ ร้อยละ 40.6 สำหรับข้อมูลผลวิจัยพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ประจำปี 2021 พบว่าตำแหน่งขี้เมา ประจำเอเชียตกเป็นของประเทศไทย โดยผลวิจัยเผยว่า คนไทยดื่มเบียร์คนละ 142 ขวด/คน/ปี ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 130 ขวด/คน/ปี และ จีน 127 ขวด/คน/ปี
ปัจจุบันการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ภายใต้ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ และใช้ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 เป็นเครื่องมือสามารถควบคุมปริมาณผู้ดื่มไม่ให้
เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากมูลค่าการตลาดปีละ 6-7 แสนล้านได้ในระดับหนึ่ง ในปีที่ผ่านมาและปี2564 นี้มีปัจจัยภายนอกทั้งสภาพเศรษฐกิจ ปัญหาโรคระบาดโควิด – 19 มีการประกาศพระราชกำหนดฉุกเฉิน ห้ามการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใบางช่วงเวลาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค จึงมีผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่จากสถานการณ์ในขณะนั้น พบว่าปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกลับมาสูงอีกครั้ง จาก
ปัจจัยประกอบหลายด้านทั้งความเครียด ความกังวล หันไปดื่มเพราะมีทัศนคติว่า ไม่ต้องคิดอะไรมากทำให้มีความจำเป็นต้องดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง จริงจัง เช่น การควบคุมการเข้าถึงด้วยการเพิ่มภาษีจนส่งผลกระทบกับราคาเครื่องสูงขึ้นมากพอต่อการลดกำลังซื้อ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ปรับทัศนคติ ดึงภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะชุมชน เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา รวมถึงการจัดบริการสุขภาพ
ทั้งนี้จากการสอบถามผู้ประกอบการสถานบันเทิง หลายแห่งใน จ.เชียงใหม่ ระบุว่า ยอดจำหน่ายเครื่องดื่ม ในช่วงนี้กระเตื้องขึ้น น่าจะเป็นผลพวงจากมาตรการผ่อนคลาย และพฤติกรรมกลุ่มลูกค้า ที่นิยม พบปะ สังสรรค์กันด้วย
รวมถึงกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น จากหลายช่องทางในขณะนี้”ปัจจุบันยอดการตลาดเครื่องดื่ม (เหล้า เบียร์ ) สูงกว่า 6-7 แสนล้านบาท เฉพาะยอดจัดเก็บภาษีในเขตภาคเหนือตอนบนนั้น เชียงใหม่ ติดอันดับสูงสุด ”